การพัฒนาทักษะดิจิทัลสำหรับพนักงานที่ไม่ใช่สายงานดิจิทัล รุ่น 1

Share

หัวข้อวิชาในหลักสูตร

  1. ทักษะพื้นฐานด้านเทคโนโลยีและการเป็นพลเมืองดิจิทัล   

– ความรู้พื้นฐานการใช้งานคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ดิจิทัล โปรแกรม (ซอฟท์แวร์/ฮาร์ดแวร์)

– การค้นหา/เปลี่ยนแปลงข้อมูลในไฟล์ ข้อมูลบนเว็บเพจ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อจำกัดต่าง ๆ

– การเข้าถึงและนำไปใช้ในแง่ของลิขสิทธิ์ ทั้งข้อมูลที่เป็น Public Domain และแบบ Creative Commons

– 8 ทักษะสำคัญของพลเมืองดิจิทัล

– ทักษะในการรักษาอัตลักษณ์ที่ดีของตนเอง (Digital Citizen Identity)

– ทักษะในการจัดสรรเวลาหน้าจอ (Screen Time Management)

– ทักษะในการรับมือกับการคุกคามทางโลกออนไลน์ (Cyberbullying Management)

– ทักษะในการรักษาความปลอดภัยของตนเองในโลกออนไลน์ (Cybersecurity Management)

– ทักษะในการรักษาข้อมูลส่วนตัว (Privacy Management)

– ทักษะในการคิดวิเคราะห์มีวิจารณญาณที่ดี (Critical Thinking)

– ทักษะในการบริหารจัดการข้อมูล ที่ผู้ใช้งานมีการทิ้งไว้บนโลกออนไลน์ (Digital Footprints)

– ทักษะในการใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม (Digital Empathy)

 

  1. การทำงานแบบอไจล์ (Agile)                            

– ทักษะการคิดเชิงการออกแบบ (Design thinking)

– เน้นผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการนำพนักงานจากส่วนงานต่าง ๆ มาทำงานร่วมกันแบบทีมเล็ก ๆ

– คนและการมีปฏิสัมพันธ์ สำคัญกว่าขั้นตอนและเครื่องมือ

– ซอฟต์แวร์ (สำหรับบริษัททั่วไปคือ งาน) ที่ใช้ได้จริง อยู่เหนือกว่าเอกสารที่ครบถ้วน

– ร่วมมือทำงานกับลูกค้า มากกว่าการต่อรองในสัญญา

– ตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงมากกว่าการทำตามแผนที่วางเอาไว้

– Workshop แบ่งกลุ่มย่อยฝึกทำงานแบบอไจล์ (Agile Mindset)

– นำเสนอผลิตภัณฑ์ ผลงานดิจิทัล ของกลุ่มย่อย

 

  1. การใช้อินเทอร์เน็ตและสื่อสารในสังคมออนไลน์ได้อย่างปลอดภัย   

– รอยเท้าบนโลกดิจิทัลที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้งานในสังคมออนไลน์ (Digital Footprints)

– ความปลอดภัยของตนเองในโลกสังคมออนไลน์ (Cybersecurity)

– พรบ. คอมพิวเตอร์ (2560)

– พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) (2562)

ค่าธรรมเนียม

6,900.-

วิทยากร

ดร.ดุลภาค มณีอินทร์

วิทยากร

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม

30-40 คน

วิธีการและระยะเวลาการฝึกอบรม

บรรยายประกอบ Power Point  20%, บรรยายกึ่งให้คำปรึกษา (Coaching) 20%, กิจกรรมละลายพฤติกรรมและกลุ่มสัมพันธ์ 10 % และเรียนรู้ผ่านกิจกรรม (Activity Base Leaning) 50 %